วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินค้าผ้าไหมไทย

โอกาสส่งออกไหมไทยและผลิตภัณฑ์


         
ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตไหมและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีและมีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งของโลก มีแรงงานในอุตสาหกรรมจำนวนมาก และในแต่ละปีมีการส่งออกไหมและผลิตภัณฑ์ได้มูลค่ามากกว่าพันล้านบาท และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
ประสบการณ์การผลิต
                ปัจจุบันประเทศไทยมีเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมประมาณ 148,754 ครัวเรือน มีพื้นที่ปลูกหม่อนทั้งหมดประมาณ 161,430 ไร่ ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 เป็นเกษตรกรอยู่ในประเทศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนที่เหลือกระจายอยู่ในภาคอื่นๆ เช่น ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ ลักษณะรูปแบบการเลี้ยงไหมจะสามารถจำแนกเป็นรูปแบบการเลี้ยงไหมเพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้จากเกษตรกรคือ การเลี้ยงไหมพันธุ์ไทย ไทยลูกผสม เพื่อการสาวไหมระดับครัวเรือน และการเลี้ยงไหมเพื่อเป็นอาชีพหลักคือ การเลี้ยงไหมพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศ เพื่อผลิตรังไหมสู่ภาพอุตสาหกรรม ปี 2546 ผลผลิตไหมภายในประเทศผลิตได้ประมาณปีละ 1,400 ตัน โดยเป็นเส้นไหมที่ผลิตจากโรงงานสาวไหมประมาณ 350 ตัน เส้นไหมไทยที่ผลิตในระดับครัวเรือนของเกษตรกรประมาณ 1,050 ตัน แต่อย่างไร่ก็ตามผลผลิตเส้นไหมในแประเทศในประเทศยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ยังคงมีการนำเข้าเส้นไหมจากต่างประเทศปีละประมาณกว่า 300 ตันคิดเป็นมูลค่ากว่า 300 ล้านบาท
                การผลิตไหมและผลิตภัณฑ์ได้มีการพัฒนาการผลิตจากครัวเรือนมาเป็นโรงงาน มีการใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยเข้ามาช่วยผลิตในบางขั้นตอนเพื่อขยายกำลังการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้าทั้งในและต่างประเทศ มีโรงงานทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่หลายพันรายกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยแหล่งผลิตที่ใหญ่และสำคัญที่สุดอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี มหาสารคาม หนองคาย ขอนแก่น บุรีรัมย์ นครราชสีมา สุรินทร์ สกลนคร ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์  และชัยภูมิ ปัจจุบันมีโรงงานขนาดใหญ่ผลิตเพื่อการส่งออกประมาณ 10 โรง โดยทำธุรกิจแบบครบวงจรตั้งแต่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การผลิตเส้นไหม การทอผ้าไหม การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพื่อจำหน่ายทั้งภายในประเทศและส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ
 สถานการณ์การส่งออก
สินค้าไหมและผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย
1.   รังไหม คือ เส้นใยที่ตัวไหมสำรอกออกมาพันตัวเพื่อเป็นเกราะป้องกันตัวเองจากศัตรูก่อนที่ตัวหนอนไหมจะพัฒนาเป็นดักแด้ และช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศด้วย รังไหมที่มีคุณภาพดีต้องแข็งแน่น และมีขนาดของรังเท่า ๆ กัน มีเส้นใยมาก ปุยรังน้อยและสาวออกได้ง่าย   
2.   ไหมดิบ หรือเส้นไหม หมายถึง เส้นไหมที่สาวจากรังของพันธุ์ไหมที่กินใบหม่อนโดยนำเส้นใยจากหลาย ๆ รังมาสาวรวมเข้าไว้ด้วยกัน การสาวต้องอาศัยความรู้และความชำนาญหลายด้านประกอบกันจึงจะได้เส้นไหมที่มีคุณภาพดีมีขนาดสม่ำเสมอโดยตลอด
3.   เศษไหม (silk waste) ในทางการค้าแบ่งเศษไหมออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
3.1    เศษไหมที่เกิดจากความไม่สมบูรณ์ของรังไหม
3.2    เศษไหมที่เกิดจากกระบวนการผลิตนับตั้งแต่การสาวไหม การปั่นด้ายไปจนถึงการทอผ้า
3.3    เศษไหมที่ได้จากการดึง (Pulling) หรือสาง (garneting) ออกจากเศษผ้าไหมทอเส้นไหมที่สาวด้วยเครื่องจักรนำมาใช้เป็นเส้นยืนในการทอผ้าไหม
4.    ด้ายไหม คือด้ายที่ปั่นจากไหมสำหรับทอผ้าไหม
5.    ด้ายไหมจากเศษไหม คือ ด้ายที่ปั่นจากเศษไหมจัดทำเพื่อการขายปลีกรวมทั้งไส้และตัวไหม
6.    ผ้าไหม แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
6.1    ผ้าไหมทอด้วยเครื่องจักร เป็นผ้าที่มีลักษณะนุ่มแต่มีความละเอียดประณีตสวยงามไม่มากนัก โดยนิยมนำมาใช้ตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าชนิดนี้มีหลายประเภททั้งผ้าที่ย้อมเส้นไหมก่อนทอ ทอแล้วย้อมทั้งผืน ทอแล้วพิมพ์ลายและทอยกดอก เป็นต้น ผ้าชนิดนี้เป็นที่นิยมของตลาดโลกเพราะนอกจากจะทอได้ทุกขนาดความยาวและเฉดสีแล้วปริมาณส่งมอบสินค้ามีความแน่นอนสามารถผลิตป้อนโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าได้ทันฤดูกาลที่สวมใส่
6.2    ผ้าไหมทอด้วยมือ มีลักษณะเป็นงานฝีมือที่ทอด้วยมือเกือบ 100% เนื้อผ้าค่อนข้างหนาแต่มีความละเอียดอ่อนประณีตสวยงาม ราคาค่อนข้างสูง เป็นสินค้าในระดับสูงมีกำลังซื้อคล่องตัว ผู้บริโภคส่วนใหญ่นอกจากนิยมนำมาตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ และยังนิยมนำไปใช้ประดับและตกแต่งภายในบ้านอีกด้วย ซึ่งสามารถผลิตได้เฉพาะประเทศอินเดียและประเทศไทยเท่านั้น แต่ผ้าไหมที่ผลิตในไทยมีความได้เปรียบกว่าอินเดียตรงที่ใช้เส้นพุ่งที่สาวด้วยมือ มีลักษณะเป็นปุ่มปม มีความแวววาวในตัวเอง มีลวดลายและสีสันสวยเด่น เป็นพิเศษ
7. ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าเช็ดหน้า ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าคลุมผม หูกระต่าย เนคไท ปลอกหมอน ผ้าม่าน ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น


วิเคราะห์ SWOT Analysis
ผ้าไหม

จุดแข็ง
                       มีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นลักษณะผ้าทอไหมเป็นสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่น จึงทำให้มีลายและรูปแบบที่มีความเป็นเอกลักษณ์ มีลักษณะจำเพาะ
                  เป็นสินค้าหัตถกรรมที่มีมูลค่าสูงเนื่องจากเป็นสินค้าที่ทำด้วยมือจึงมีคุณค่าและมีมูลค่าสูง
                  เป็นภูมิปัญญาไทย
จุดอ่อน
                          ไม่สามารถผลิตได้จำนวนมาก ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น เนื่องจากเป็นสินค้าที่ทำด้วยมือ จึงต้องใช้เวลาในการผลิตค่อนข้างมาก จึงทำให้ไม่สามารถผลิตได้จำนวนมาก
                  มาตรฐานสินค้าไม่สม่ำเสมอ เช่น เดียวกันเนื่องจากเป็นสินค้าหัตถกรรมบางครั้งจึงทำให้มีมาตรฐานสินค้าที่ไม่สม่ำเสมอ เช่น สี คุณภาพผ้า เป็นต้น
                    ดัดแปลงใช้กับชีวิตประจำวันได้ยาก ในการผลิตผ้าทอไหมเพื่อการใช้งานเมื่อนำมาใช้ดัดแปลงกับชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันจะสามารถใช้งานได้ยาก เนื่องจากคุณสมบัติของผ้า ลวดลาย สีสัน
                   ดูแลรักษายาก เนื่องจากไหมโดยเฉพาะผ้าไหมทอมือ เป็นสินค้าที่ต้องใช้การดูแลรักษาอย่างดี ซึ่งชาวต่างชาติใช้วิธีการซักผ้าและรีดผ้าด้วยเครื่อง ทำให้ไม่เหมาะสมกับความเป็นอยู่ของชาวต่างชาติในชีวิตประจำวัน
โอกาส
                ผู้ซื้อจากต่างประเทศต้องการสินค้าแปลกใหม่ ที่ไม่สามารถหาได้ทั่วไปในตลาดความนิยมวัสดุธรรมชาติมีแนวโน้มสูงขึ้น เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ใช้การย้อมสีธรรมชาติเนื่องจากจะไม่ส่งผลต่อร่างกาย มีรูปแบบที่น่าสนใจและมีราคาที่เหมาะสม มีกลิ่นอายของความเป็นเอเชีย
ปัญหาและอุปสรรค
                การแข่งขันในตลาดต่างประเทศมีสูงมาก ในตลาดโลกมีสินค้าหลากหลายที่เสนอให้กับลูกค้า ทั้งในเรื่องของรูปแบบราคา คุณภาพ ดังนั้นสินค้าจากไทยรูปแบบเติม ๆ จะไม่สามารถครองตลาดได้อีกต่อไป


วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประชากรของออสเตรเลีย

 ประชากร  ออสเตรเลียมีประชากรราว 18.6 ล้านคน ประมาณหนึ่งในห้าของชาวออสเตรเลีย เกิดในประเทศอื่น ออสเตรเลียจึงเป็นสังคมหลายชนชาติ หลายวัฒนธรรม 85% ของพลเมืองออสเตรเลียอาศัยตามเขตเมืองใหญ่ รัฐที่มีประชากรอาศัยหนาแน่นที่สุดคือ รัฐนิวเซ้าท์เวลล์ 
ชาวออสเตรเลียปัจจุบันให้ความสำคัญกับ เทคโนโลยีสมัยใหม่มากจนได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของ โทรศัพท์มือถือ และเครื่องโทรสารต่อจำนวนประชากรมาก เป็นอันดับ 4 ของโลก นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์คอมพิวเตอร์ เชื่อมโยงกับเครือข่างอินเตอร์เน็ตมากเป็นอันดับหกของโลก

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การตลาดระหว่างประเทศ และ การค้าระหว่างประเทศ

การตลาดระหว่างประเทศ
International Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดระหว่างประเทศ

         
ระยะนี้ เป็นการพัฒนามาจาก ระยะ Export Marketing ซึ่งเมื่อทำการส่งออกไปได้ ซักระยะ ธุรกิจอาจจะมีความประสบความสำเร็จ แต่เมื่อไปได้อีกสักพัก ธุรกิจอาจจะค้นพบว่า มีอุปสรรคและ ปัญหาต่างๆ ที่ทำให้การทำธุรกิจระหว่างประเทศ ต้องสะดุด เช่น
          -ความต้องการที่แตกต่างกัน ของลุกค้าในตลาดระหว่างประเทศ แต่ละแห่ง
          -ความแตกต่างทางด้านกฏหมาย และ ข้อบังคับในตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
          -ความแตกต่างทางด้านอัตราค่าขนส่ง และ อัตราค่าภาษีกรมศุลกากร ของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
          -ความแตกต่างทางด้านกายภาค และ สภาพแวดล้อมของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
          -การกีดกันทางการค้า ของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง

ปัญหา และ อุปสรรคที่กล่าวไป เป็นสิ่งทีทำให้เกิดปัญหาในการส่งออกทั้งสิ้น เช่น
          -เช่นทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้น
          -ทำให้การขนส่งสินค้าไปจำหน่ายในตลาดระหว่างประเทศ เป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น

          วิธีแก้ปัญหาจากอุปสรรคเหล่านี้ ผู้ประกอบการ หรือ นักการตลาดระหว่างประเทศ ต้อง พยายามปรับกลยุทธ์ ตามตลาดแต่ละประเทศ เพื่อ หลีกเลี่ยงอุปสรรคเหล่านั้น เช่น
          -เลือกการจ้างผลิต หรือ ทำการตั้งฐานการผลิต ในตลาดระหว่างประเทศ แทนการส่งออก
การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing)
ความหมาย
                สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (American Marketing Association:AMA) ได้ให้คำจำกัดความของการตลาดต่างประเทศ (International Marketing) ไว้ว่าการตลาดระหว่างประเทศเป็นกระบวนการวางแผน กระบวนการจัดแนวความคิด การตั้งราคาการจัดช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมทางการตลาดเพื่อให้สินค้าและบริการสามารถ
ตอบสนองความต้องการของบุคคลหรือองค์กรที่อยู่ในประเทศต่าง ๆนอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของการตลาดระหว่างประเทศว่า การตลาดระหว่างประเทศ คือ ความสามารถในการผสมผสานกิจกรรมทางการตลาดกับสภาพแวดล้อมทาง
กายภาพและสามารถเข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในตลาดระดับโลกได้อย่างกลมกลืน มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความได้เปรียบทางการตลาด


ความคิดเห็น
  การตลาดระหว่างประเทศ และ การค้าระหว่างประเทศ มีความต่างกันคือ ผมมีความคิดว่าการตลาดระหว่างประเทศมีการค้าที่มีความเป็นอิสระมากกว่า การค้าระหว่างประเทศ แต่การตลาดระหว่างประเทศก็จะมีข้อจำกัดที่มากกว่าการค้าระหว่างประเทศ แต่การค้าระหว่างประเทศมีข้อได้เปรียบคือสามารถเข้าถือการค้าได้ดีกว่า