วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินค้าผ้าไหมไทย

โอกาสส่งออกไหมไทยและผลิตภัณฑ์


         
ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตไหมและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีและมีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งของโลก มีแรงงานในอุตสาหกรรมจำนวนมาก และในแต่ละปีมีการส่งออกไหมและผลิตภัณฑ์ได้มูลค่ามากกว่าพันล้านบาท และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
ประสบการณ์การผลิต
                ปัจจุบันประเทศไทยมีเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมประมาณ 148,754 ครัวเรือน มีพื้นที่ปลูกหม่อนทั้งหมดประมาณ 161,430 ไร่ ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 เป็นเกษตรกรอยู่ในประเทศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนที่เหลือกระจายอยู่ในภาคอื่นๆ เช่น ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ ลักษณะรูปแบบการเลี้ยงไหมจะสามารถจำแนกเป็นรูปแบบการเลี้ยงไหมเพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้จากเกษตรกรคือ การเลี้ยงไหมพันธุ์ไทย ไทยลูกผสม เพื่อการสาวไหมระดับครัวเรือน และการเลี้ยงไหมเพื่อเป็นอาชีพหลักคือ การเลี้ยงไหมพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศ เพื่อผลิตรังไหมสู่ภาพอุตสาหกรรม ปี 2546 ผลผลิตไหมภายในประเทศผลิตได้ประมาณปีละ 1,400 ตัน โดยเป็นเส้นไหมที่ผลิตจากโรงงานสาวไหมประมาณ 350 ตัน เส้นไหมไทยที่ผลิตในระดับครัวเรือนของเกษตรกรประมาณ 1,050 ตัน แต่อย่างไร่ก็ตามผลผลิตเส้นไหมในแประเทศในประเทศยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ยังคงมีการนำเข้าเส้นไหมจากต่างประเทศปีละประมาณกว่า 300 ตันคิดเป็นมูลค่ากว่า 300 ล้านบาท
                การผลิตไหมและผลิตภัณฑ์ได้มีการพัฒนาการผลิตจากครัวเรือนมาเป็นโรงงาน มีการใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยเข้ามาช่วยผลิตในบางขั้นตอนเพื่อขยายกำลังการผลิตเพื่อจำหน่ายสินค้าทั้งในและต่างประเทศ มีโรงงานทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่หลายพันรายกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยแหล่งผลิตที่ใหญ่และสำคัญที่สุดอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี มหาสารคาม หนองคาย ขอนแก่น บุรีรัมย์ นครราชสีมา สุรินทร์ สกลนคร ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์  และชัยภูมิ ปัจจุบันมีโรงงานขนาดใหญ่ผลิตเพื่อการส่งออกประมาณ 10 โรง โดยทำธุรกิจแบบครบวงจรตั้งแต่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การผลิตเส้นไหม การทอผ้าไหม การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพื่อจำหน่ายทั้งภายในประเทศและส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ
 สถานการณ์การส่งออก
สินค้าไหมและผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย
1.   รังไหม คือ เส้นใยที่ตัวไหมสำรอกออกมาพันตัวเพื่อเป็นเกราะป้องกันตัวเองจากศัตรูก่อนที่ตัวหนอนไหมจะพัฒนาเป็นดักแด้ และช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศด้วย รังไหมที่มีคุณภาพดีต้องแข็งแน่น และมีขนาดของรังเท่า ๆ กัน มีเส้นใยมาก ปุยรังน้อยและสาวออกได้ง่าย   
2.   ไหมดิบ หรือเส้นไหม หมายถึง เส้นไหมที่สาวจากรังของพันธุ์ไหมที่กินใบหม่อนโดยนำเส้นใยจากหลาย ๆ รังมาสาวรวมเข้าไว้ด้วยกัน การสาวต้องอาศัยความรู้และความชำนาญหลายด้านประกอบกันจึงจะได้เส้นไหมที่มีคุณภาพดีมีขนาดสม่ำเสมอโดยตลอด
3.   เศษไหม (silk waste) ในทางการค้าแบ่งเศษไหมออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
3.1    เศษไหมที่เกิดจากความไม่สมบูรณ์ของรังไหม
3.2    เศษไหมที่เกิดจากกระบวนการผลิตนับตั้งแต่การสาวไหม การปั่นด้ายไปจนถึงการทอผ้า
3.3    เศษไหมที่ได้จากการดึง (Pulling) หรือสาง (garneting) ออกจากเศษผ้าไหมทอเส้นไหมที่สาวด้วยเครื่องจักรนำมาใช้เป็นเส้นยืนในการทอผ้าไหม
4.    ด้ายไหม คือด้ายที่ปั่นจากไหมสำหรับทอผ้าไหม
5.    ด้ายไหมจากเศษไหม คือ ด้ายที่ปั่นจากเศษไหมจัดทำเพื่อการขายปลีกรวมทั้งไส้และตัวไหม
6.    ผ้าไหม แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
6.1    ผ้าไหมทอด้วยเครื่องจักร เป็นผ้าที่มีลักษณะนุ่มแต่มีความละเอียดประณีตสวยงามไม่มากนัก โดยนิยมนำมาใช้ตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าชนิดนี้มีหลายประเภททั้งผ้าที่ย้อมเส้นไหมก่อนทอ ทอแล้วย้อมทั้งผืน ทอแล้วพิมพ์ลายและทอยกดอก เป็นต้น ผ้าชนิดนี้เป็นที่นิยมของตลาดโลกเพราะนอกจากจะทอได้ทุกขนาดความยาวและเฉดสีแล้วปริมาณส่งมอบสินค้ามีความแน่นอนสามารถผลิตป้อนโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าได้ทันฤดูกาลที่สวมใส่
6.2    ผ้าไหมทอด้วยมือ มีลักษณะเป็นงานฝีมือที่ทอด้วยมือเกือบ 100% เนื้อผ้าค่อนข้างหนาแต่มีความละเอียดอ่อนประณีตสวยงาม ราคาค่อนข้างสูง เป็นสินค้าในระดับสูงมีกำลังซื้อคล่องตัว ผู้บริโภคส่วนใหญ่นอกจากนิยมนำมาตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ และยังนิยมนำไปใช้ประดับและตกแต่งภายในบ้านอีกด้วย ซึ่งสามารถผลิตได้เฉพาะประเทศอินเดียและประเทศไทยเท่านั้น แต่ผ้าไหมที่ผลิตในไทยมีความได้เปรียบกว่าอินเดียตรงที่ใช้เส้นพุ่งที่สาวด้วยมือ มีลักษณะเป็นปุ่มปม มีความแวววาวในตัวเอง มีลวดลายและสีสันสวยเด่น เป็นพิเศษ
7. ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าเช็ดหน้า ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าคลุมผม หูกระต่าย เนคไท ปลอกหมอน ผ้าม่าน ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น


วิเคราะห์ SWOT Analysis
ผ้าไหม

จุดแข็ง
                       มีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นลักษณะผ้าทอไหมเป็นสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่น จึงทำให้มีลายและรูปแบบที่มีความเป็นเอกลักษณ์ มีลักษณะจำเพาะ
                  เป็นสินค้าหัตถกรรมที่มีมูลค่าสูงเนื่องจากเป็นสินค้าที่ทำด้วยมือจึงมีคุณค่าและมีมูลค่าสูง
                  เป็นภูมิปัญญาไทย
จุดอ่อน
                          ไม่สามารถผลิตได้จำนวนมาก ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น เนื่องจากเป็นสินค้าที่ทำด้วยมือ จึงต้องใช้เวลาในการผลิตค่อนข้างมาก จึงทำให้ไม่สามารถผลิตได้จำนวนมาก
                  มาตรฐานสินค้าไม่สม่ำเสมอ เช่น เดียวกันเนื่องจากเป็นสินค้าหัตถกรรมบางครั้งจึงทำให้มีมาตรฐานสินค้าที่ไม่สม่ำเสมอ เช่น สี คุณภาพผ้า เป็นต้น
                    ดัดแปลงใช้กับชีวิตประจำวันได้ยาก ในการผลิตผ้าทอไหมเพื่อการใช้งานเมื่อนำมาใช้ดัดแปลงกับชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันจะสามารถใช้งานได้ยาก เนื่องจากคุณสมบัติของผ้า ลวดลาย สีสัน
                   ดูแลรักษายาก เนื่องจากไหมโดยเฉพาะผ้าไหมทอมือ เป็นสินค้าที่ต้องใช้การดูแลรักษาอย่างดี ซึ่งชาวต่างชาติใช้วิธีการซักผ้าและรีดผ้าด้วยเครื่อง ทำให้ไม่เหมาะสมกับความเป็นอยู่ของชาวต่างชาติในชีวิตประจำวัน
โอกาส
                ผู้ซื้อจากต่างประเทศต้องการสินค้าแปลกใหม่ ที่ไม่สามารถหาได้ทั่วไปในตลาดความนิยมวัสดุธรรมชาติมีแนวโน้มสูงขึ้น เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ใช้การย้อมสีธรรมชาติเนื่องจากจะไม่ส่งผลต่อร่างกาย มีรูปแบบที่น่าสนใจและมีราคาที่เหมาะสม มีกลิ่นอายของความเป็นเอเชีย
ปัญหาและอุปสรรค
                การแข่งขันในตลาดต่างประเทศมีสูงมาก ในตลาดโลกมีสินค้าหลากหลายที่เสนอให้กับลูกค้า ทั้งในเรื่องของรูปแบบราคา คุณภาพ ดังนั้นสินค้าจากไทยรูปแบบเติม ๆ จะไม่สามารถครองตลาดได้อีกต่อไป


วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประชากรของออสเตรเลีย

 ประชากร  ออสเตรเลียมีประชากรราว 18.6 ล้านคน ประมาณหนึ่งในห้าของชาวออสเตรเลีย เกิดในประเทศอื่น ออสเตรเลียจึงเป็นสังคมหลายชนชาติ หลายวัฒนธรรม 85% ของพลเมืองออสเตรเลียอาศัยตามเขตเมืองใหญ่ รัฐที่มีประชากรอาศัยหนาแน่นที่สุดคือ รัฐนิวเซ้าท์เวลล์ 
ชาวออสเตรเลียปัจจุบันให้ความสำคัญกับ เทคโนโลยีสมัยใหม่มากจนได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของ โทรศัพท์มือถือ และเครื่องโทรสารต่อจำนวนประชากรมาก เป็นอันดับ 4 ของโลก นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์คอมพิวเตอร์ เชื่อมโยงกับเครือข่างอินเตอร์เน็ตมากเป็นอันดับหกของโลก

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การตลาดระหว่างประเทศ และ การค้าระหว่างประเทศ

การตลาดระหว่างประเทศ
International Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดระหว่างประเทศ

         
ระยะนี้ เป็นการพัฒนามาจาก ระยะ Export Marketing ซึ่งเมื่อทำการส่งออกไปได้ ซักระยะ ธุรกิจอาจจะมีความประสบความสำเร็จ แต่เมื่อไปได้อีกสักพัก ธุรกิจอาจจะค้นพบว่า มีอุปสรรคและ ปัญหาต่างๆ ที่ทำให้การทำธุรกิจระหว่างประเทศ ต้องสะดุด เช่น
          -ความต้องการที่แตกต่างกัน ของลุกค้าในตลาดระหว่างประเทศ แต่ละแห่ง
          -ความแตกต่างทางด้านกฏหมาย และ ข้อบังคับในตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
          -ความแตกต่างทางด้านอัตราค่าขนส่ง และ อัตราค่าภาษีกรมศุลกากร ของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
          -ความแตกต่างทางด้านกายภาค และ สภาพแวดล้อมของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
          -การกีดกันทางการค้า ของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง

ปัญหา และ อุปสรรคที่กล่าวไป เป็นสิ่งทีทำให้เกิดปัญหาในการส่งออกทั้งสิ้น เช่น
          -เช่นทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้น
          -ทำให้การขนส่งสินค้าไปจำหน่ายในตลาดระหว่างประเทศ เป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น

          วิธีแก้ปัญหาจากอุปสรรคเหล่านี้ ผู้ประกอบการ หรือ นักการตลาดระหว่างประเทศ ต้อง พยายามปรับกลยุทธ์ ตามตลาดแต่ละประเทศ เพื่อ หลีกเลี่ยงอุปสรรคเหล่านั้น เช่น
          -เลือกการจ้างผลิต หรือ ทำการตั้งฐานการผลิต ในตลาดระหว่างประเทศ แทนการส่งออก
การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing)
ความหมาย
                สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (American Marketing Association:AMA) ได้ให้คำจำกัดความของการตลาดต่างประเทศ (International Marketing) ไว้ว่าการตลาดระหว่างประเทศเป็นกระบวนการวางแผน กระบวนการจัดแนวความคิด การตั้งราคาการจัดช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมทางการตลาดเพื่อให้สินค้าและบริการสามารถ
ตอบสนองความต้องการของบุคคลหรือองค์กรที่อยู่ในประเทศต่าง ๆนอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของการตลาดระหว่างประเทศว่า การตลาดระหว่างประเทศ คือ ความสามารถในการผสมผสานกิจกรรมทางการตลาดกับสภาพแวดล้อมทาง
กายภาพและสามารถเข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในตลาดระดับโลกได้อย่างกลมกลืน มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความได้เปรียบทางการตลาด


ความคิดเห็น
  การตลาดระหว่างประเทศ และ การค้าระหว่างประเทศ มีความต่างกันคือ ผมมีความคิดว่าการตลาดระหว่างประเทศมีการค้าที่มีความเป็นอิสระมากกว่า การค้าระหว่างประเทศ แต่การตลาดระหว่างประเทศก็จะมีข้อจำกัดที่มากกว่าการค้าระหว่างประเทศ แต่การค้าระหว่างประเทศมีข้อได้เปรียบคือสามารถเข้าถือการค้าได้ดีกว่า

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

คุณสมบัติของนักขายที่ดี




         1. การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี นักขายต้องเจอผู้คนครับ เพราะฉะนั้นมนุษย์สัมพันธ์ท่านต้องดี คำถามก็คือว่า แล้วคำว่ามนุษย์สัมพันธ์ดีนี้มันเป็นอย่างไร ผมให้ไอเดียง่าย ๆครับ ไม่ต้องไปอิงทฤษฎีอะไร คนที่ยิ้มแย้มร่าเริงนี่หละครับมีโอกาสที่จะมีมนุษยสัมพันธ์ดีบางคนเนี่ยยิ้มไม่เป็น เวลายิ้มเนี่ยต้องยิ้มมาจากตานะครับ ถ้าคนที่ยิ้มสดใสร่าเริงใคร ๆก็อยากจะเข้าใกล้ครับ เวลาเจอคนเศร้า ๆ ไม่มีใครอยากจะเข้าใกล้หรอกครับ แต่ถ้ายิ้มสดใสร่าเริงเมื่อไหร่ ยิ้มไปไหนก็มีแต่เพื่อนครับมีแต่คนอยากจะคุยด้วย เพราะฉะนั้นท่านต้องยิ้ม ต้องร่าเริงครับ และวิธีที่ยิ้มร่าเริง ก็คือคนมันต้องมีข้างในที่ดีนะครับ EQ ท่านต้องดีครับ



         EQ ก็คือความสามารถหรือความฉลาดในการใช้อารมณ์ให้เหมาะกับสถานการณ์ไม่ได้หมายความว่าคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีจะไม่มีอารมณ์นะครับ แต่ท่านเลือกใช้อารมณ์ให้เหมาะกับสถานการณ์ เวลาดีใจก็ดีใจ เวลาเสียใจก็แสดงความเสียใจ แต่อยู่ในขอบเขตมารยาททั่ว ๆ ไปที่เค้าทำกัน คนที่ EQ ไม่ดี ท่านจะเห็นง่าย ๆ ถ้าดี ดีใจหายเลยสุดยอดดีจริง ๆ แต่เวลาโมโหร้ายเนี่ยไม่มีใครอยากเข้าใกล้เลยครับ เพราะฉะนั้นคนที่ EQ ไม่ดีก็จะเป็นนักขายที่ดีไม่ได้ครับ เพราะถ้าหากเกิดอารมณ์ไม่ดี ซัดลูกค้าหงอไปเลย ทำให้ลูกค้าหายไปเลย พออารมณ์ดีไปง้อเค้า เค้าสับสนนะครับคนอย่างงี้เนี่ย เพราะฉะนั้นคนที่จะเป็นนักขายที่ดีครับ ต้องคำนึงถึงจิตใจของคนอื่นเค้าครับ


         2. นักขายต้องมีความน่าเชื่อถือ ท่านมีไหมความน่าเชื่อถือ คำถามก็คืออะไรที่จะมองว่าเป็นคนน่าเชื่อถือ อันแรกครับท่านเป็นคนมีหลักการไหม นักขายต้องเป็นคนมีหลักการครับ ต้องอยู่กับร่องกับรอย ไม่ใช่วันนี้พูดอย่าง พรุ่งนี้พูดอีกอย่าง เพราะฉะนั้นนักขายต้องมีหลักการ กฎ กติกา ต่างๆ ต้องแม่นครับ แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องกอดหลักการไปตลอดนะครับ แต่หมายความว่า เรามีหลักการนี้ เราก็ปฏิบัติตามหลักการนี้ แต่ถ้ามีเหตุให้เปลี่ยนหลักการ ท่านก็ต้องไปว่าด้วยเหตุของการเปลี่ยนหลักการก่อน ที่สำคัญคือเมื่อยึดหลักการไหนต้องทำตาม ไม่อย่างนั้น ท่านจะเป็นคนไม่น่าเชื่อถือครับ นอกจากนี้เขาอาจจะตัดสินท่านด้วยบุคลิกภาพนักขายที่หัวยุ่ง ๆ แต่งตัวไม่สุภาพเรียบร้อย ใส่รองเท้าผ้าใบไปเยี่ยมลูกค้า ก็จะทำให้ท่านขาดความน่าเชื่อถือ ต้องดูสินค้านะครับ ดูว่าสอดคล้องไหม ดังนั้นบุคลิกก็จะเป็นตัวสะท้อนความน่าเชื่อถือครับ


         3. การสื่อสารเป็นเลิศ นักขายบางคนบอกว่า บางทีต้องพูดมาก ต้องพูดเก่งอันนี้ไม่จริงเลยครับ สื่อสารเป็นเลิศคือ “นักขายต้องถามเป็นครับ” เวลาที่คุณขายของ ถ้าคุณพูดน้อย คุณก็จะได้รับข้อมูลจากลูกค้ามาก แต่ถ้าคุณพูดมากคุณก็จะได้ข้อมูลน้อย แต่ก็ไม่รู้ว่าที่คุณพูดไป คนที่คุณคุยด้วยเค้าสนใจคุณหรือเปล่า เพราะฉะนั้นทักษะในการสื่อสารเป็นอีกเรื่อง ที่ท่านจำเป็นต้องไปถามตัวเองนะครับว่า ท่านถามเป็นไหม ท่านจับประเด็นได้ไหมว่าลูกค้าต้องการอะไร และท่านมีสติที่จะฟังไหม ไม่ใช่ว่าเหม่อลอย คุยไปแล้วก็จำไม่ได้ คุยแล้วไม่ประติดประต่อ อย่างนี้เราไม่ถือว่าการสื่อสารเป็นเลิศ


         4. สุขภาพแข็งแรง นักขายบางครั้งต้องเดินทาง ต้องเจอความกดดันเยอะ ๆสุขภาพต้องแข็งแรงด้วยครับ ความคิดต้องเป็นความคิดเชิงบวก มองโลกในแง่ดีเราจะได้มีกำลังใจ ในการต่อสู้กับปัญหาที่มากขึ้นที่มารุมเร้านักขาย


         ท่านหละครับมนุษยสัมพันธ์ดีไหม น่าเชื่อถือไหม ท่านมีทักษะการสื่อสารที่ดีหรือยัง สุขภาพท่านแข็งแรงไหม และท่านมีความคิดเชิงบวกไหม ถ้าท่านเพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ แปลว่าท่านมีโอกาสประสบความสำเร็จในอาชีพนักขายแล้ว


         แต่ถ้าท่านขาดข้อใดข้อหนึ่งหรือมากกว่า 1 ข้อ ไม่ได้หมายความว่าท่านไม่มีโอกาสนะครับ ท่านต้องไปทำการบ้านว่าท่านสามารถไปเรียนรู้ ไปหาข้อมูล ไปพัฒนาเปลี่ยนแปลงได้ไหม ถ้าท่านเชื่อว่าเปลี่ยนแปลงตัวเองไม่ได้ ท่านไม่ได้คิดอย่างนักขายมืออาชีพแล้ว ถ้าท่านไม่สามารถนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงได้ โอกาสที่ท่านจะประสบความสำเร็จ เป็นนักขายมืออาชีพคงไม่มีครับ ถึงตรงนี้อาจจะมีบางท่านพูดว่างั้นหยุดไว้ก่อน ขอไปทบทวนก่อนครับ ว่าจะเพิ่มเปลี่ยนแปลงให้มันมีคุณสมบัตินี้ได้ไหม ก็เป็นเรื่องที่ดีครับ


แหล่งที่มา : http://www.tienscnx.com/index.php?mo=3&art=298891